เพลงบรรเลง วงสะล้อ ซอ ซึง

แหล่งที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=rWFLZgjCb74
ดู 5385 ครั้ง
วงสะล้อ ซอ ซึง

วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล้อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพาะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้น ถือว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่น ล้านนา

ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง(ขลุ่ยตาด) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง(ซอ) ประกอบ โดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมือง

ขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้

สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสี มีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้ของภาคกลาง

ซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง เป็นการขับร้องทำนองของคำซอ โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าซอเป็นเครื่องดนตรีแต่ไม่ใช่ ซอเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งวงสะล้อ ซอ ซึง การขับซอ เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลาย ทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ

ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนำมาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก...แหล่งเรียนรู้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดนตรีพื้นเมืองห้วยอ้อ (โฮงซึงหลวง)
http://www.itrmu.net/web/10rs24/show-webcontent.php?cat_id=2&mid=16